18 ส.ค. 2565
ราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การระบาดของโควิด 19 มาจนถึงสงครามรัสเซียและยูเครน ทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้า เป็นประโยชน์ต่อ บริษัทไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ที่เตรียมนำหุ้นเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อนำเงินไปพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงาน
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดว่า ในปี 2565 รายได้เกษตรกรจาก 5 พืชเศรษฐกิจ (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ำมัน) จะเพิ่มขึ้นเป็น 8.86 แสนล้านบาท ซึ่งเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนถึง 16.1% และสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยได้รับอานิสงส์จาก1) ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นสาเหตุจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร2) ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช3) แนวโน้มราคาอาหารเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวภายหลังจากการระบาดของโรคโควิด-194) ความตึงเครียดของสงครามรัสเซียและยูเครนซึ่งยางพารา : คาดว่ารายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.89 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 12.3% โดยปริมาณผลผลิตคาดว่าจะทรงตัวจากปีก่อน สำหรับราคายางพาราคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 12.0% ซึ่งได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตยางรถยนต์ปรับสัดส่วนการใช้ยางสังเคราะห์มาเป็นยางธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงความต้องการยางพาราที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหลัก (จีนและมาเลเซีย) ที่ต้องการนำไปผลิตเป็นสินค้าขั้นปลาย ได้แก่ ยางรถยนต์ และถุงมือยางทางการแพทย์ มากขึ้นปาล์มน้ำมัน : คาดว่ารายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.28 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 13.6% โดยปริมาณผลผลิตและราคาคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.6% และ 9.7% ตามลำดับ ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาจากราคาปาล์มน้ำมันปรับสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรหันมาเพาะปลูกมากขึ้น ด้านราคาที่ปรับเพิ่มนั้นสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และอินโดนีเซียผู้ผลิตปาล์มรายใหญ่ของโลกจำกัดการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อคุมราคาน้ำมันปาล์มที่ใช้ประกอบอาหารในประเทศไม่ให้สูงเกินไปสำหรับสถานการณ์ยางพารา ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) น.ส.อธิวีณ์ แดงกนิษฏ์ ระบุว่า ขณะนี้ World bank & OECD GDP Projections in 2002 ประกาศค่า PMI ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงเดือน ก.ค. 65 อยู่ที่ 52.20 ประเทศจีน 49.00 ประเทศญี่ปุ่น 52.10 และยุโรป อยู่ที่ 49.80 เนื่องจากความยืดเยื้อของสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงมาตรการ Zero Covid ของจีน และความขัดแย้งระหว่างไต้หวัน จีน และสหรัฐ ขณะที่ปริมาณการผลิตและการใช้ยางธรรมชาติของโลก ANRPC วิเคราะห์ว่า ในปี 65 ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 14.420 ล้านตัน และปริมาณการใช้ยางอยู่ที่ 15.204 ล้านตัน และคาดว่าการดำเนินนโยบายลดภาษีรถใหม่ของจีน ทำให้ยอดขายรถเพิ่มขึ้น 24% ขณะเดียวกัน ความมุ่งมั่นในการลดคาร์บอนของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้การผลิตรถ EV เพิ่มขึ้น โดย ANRPC คาดว่าความต้องการยางจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4% ราคายางพาราและน้ำมันปาล์มที่ยังเติบโตต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อหุ้นน้องใหม่ที่กำลังจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปีนี้ อย่าง บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (บริษัทฯ) หรือ TEGH ซึ่งเตรียมจะเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 324 ล้านหุ้น โดยบริษัท TEGH เป็นผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติ และการผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบรายใหญ่ในภาคตะวันออก และยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตพลังงานทดแทนประเภทพลังงานชีวภาพแบบครบวงจร รวมถึงยังมีฐานลูกค้าเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตยางล้อชั้นนำระดับโลก เช่น Michelin, Bridgestone, Goodyear, Sumitomo, Pirelli, Continental, Apollo, Prometeon, Yokohama และ Hankookนายเฉลิม โกกนุทาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TEGH เปิดเผยว่าแผนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตในอนาคตอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิสัยทัศน์ของการเป็นองค์กร "พันธมิตรทางธุรกิจระดับโลกที่สร้างห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน" อีกทั้งการระดมทุนในครั้งนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนและประชาชนทั่วไปได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการต่อยอดความสำเร็จของ TEGH สำหรับวัตถุประสงค์ในการนำเงินระดมทุนที่ได้จากการเสนอขายหุ้น IPO คือ เพื่อนำไปใช้เป็นเงินลงทุนในโครงการในอนาคตของกลุ่มบริษัทฯ และกระบวนการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของบริษัทฯ ในการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงเพื่อนำไปชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกลุ่มบริษัทฯ